คุณแม่เพิ่งคลอดหลายคนมีความกังวล เรื่องการหลั่งของน้ำนม กลัวว่าจะไม่มีนมให้ลูกกิน ในการสร้างภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติให้กับลูกน้อย ในฐานะแม่ย่อมทำทุกอย่างได้เพื่อลูก สรรหาสิ่งต่าง ๆ ที่จะช่วยกระตุ้นน้ำนมให้มีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของลูก โดยการหันมาพึ่งยากระตุ้นน้ำนม ซึ่งได้รับความนิยมมากในกลุ่มแม่ที่ประสบปัญหาดังกล่าว
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับยากระตุ้นน้ำนม หรือ “ยาประสะน้ำนม” “มีนะ สพสมัย” ผู้เชี่ยวชาญและกรรมการมูลนิธิส่งเสริมการคลอดแบบธรรมชาติและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แห่งประเทศไทย ให้ความรู้ว่า ยาประสะน้ำนม เป็นที่ยอมรับในวงการแพทย์แผนไทย สามารถใช้ได้จริง เพราะมีส่วนผสมมาจากสมุนไพรไทยหลายชนิด เช่น ขิง เครื่องเทศ น้ำผึ้ง ที่ช่วยการกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด สมุนไพรบางชนิด มีส่วนช่วยกระตุ้นระบบอวัยวะการสืบพันธุ์ ที่มีผลช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำนมของแม่หลังการคลอด
ปัญหาดังกล่าวสร้างความวิตกกังวลให้กับคนเป็นแม่ไม่น้อย สำหรับเรื่องที่ต้องมีน้ำนมให้ลูกกินภายใน 3 วันแรก บางครั้งความวิตกกังวลตัวก่อเหตุทำให้เกิดความเครียดสะสม ร่างกายทำงานไม่เต็มที่ ส่งผลเสียถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย นี่เป็นสาเหตุแรกที่พบส่วนใหญ่ อีกปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการไหลเวียนของเลือดมาจากหลังการคลอดจะมีการใช้ยาบล็อคหลัง ยาแก้ปวด ซึ่งยาตัวนี้มีผลในการยับยั้งและกดทับการผลิตฮอร์โมนของร่างกาย ทำให้การหลั่งของน้ำนมมีประสิทธิภาพน้อยลง ดังนั้นคุณแม่ก็ไม่ต้องกังวล พอผ่านไป 4 วัน หลังคลอดน้ำนมก็จะไหลได้เป็นปกติ
อย่างไรก็ดีผู้เชี่ยวชาญ แนะนำว่า ก่อนที่คุณแม่จะหันไปพึ่งยาประสะน้ำนม ควรเริ่มต้นกระตุ้นด้วยวิธีธรรมชาติ คือ ให้ลูกกินนมเร็วที่สุดหลังการคลอดหรือภายใน 2 ชั่วโมง และให้กินบ่อย ๆ ถึงแม้ว่าลูกจะไม่ดูดนมก็ตาม เพื่อสร้างความคุ้นเคย แม่ต้องพยายามให้ลูกดูดหรือกระตุ้นทุก ๆ 2 ชั่วโมง หรือ 18 ครั้ง ใน 24 ชั่วโมง เพื่อให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายอยู่ในภาวะสมดุลและสามารถสร้างน้ำนมได้อย่างสม่ำเสมอ เพราะ 2 วันหลังคลอดร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลงมาก การหลั่งของน้ำนมจะเป็นระบบ เมื่อมีการถ่ายออก ก็จะมีกานสร้างน้ำนมมาทดแทน เพื่อให้เกิดความสมดุล
นอกจากนั้นคุณแม่ต้องพยายามให้ลูกอมจุกนมเข้าไปลึก ๆ เพื่อเป็นการกระตุ้น บางคนแค่เอาไปจ่อที่ปาก ลูกจะไม่ดูด กลไกการผลิตน้ำนมก็ไม่เกิดขึ้น และลูกก็ไม่ได้ฝึกกล้ามเนื้อ แต่เด็กจะมีสัญชาตญาณความอยู่รอดตั้งแต่กำเนิด เด็กจะอ้าปากรอเพื่อดูดนม แม่ต้องคอยสังเกตอาการอยากน้ำของลูกด้วย
Reference
1. American Academy of Pediatrics: Use of Galactogogues in Initiating or Augmenting Maternal Milk Production: https://pediatrics.aappublications.org/content/early/2019/03/28/peds.2018-3445
2. Cochrane Library: Galactagogues for Increasing Breastmilk Production: https://www.cochrane.org/CD011505/PREG_galactagogues-increasing-breastmilk-production
3. National Institutes of Health: Galactogogues: Medications that Induce Lactation: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4861639/