ต้องบอกว่าสิ่งแรกที่ช่วยได้ นั่นคือคุณแม่ต้องมั่นใจก่อนว่าจะสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ พร้อมกับเริ่มปฏิบัติดังนี้คุณแม่ให้นมลูกบ่อยขึ้น และนานขึ้น โดยไม่ควรน้อยกว่า 8 ครั้งต่อวัน ทั้งนี้หากคุณแม่ไม่สามารถอยู่กับลูกทั้งวันได้ ควรบีบ หรือปั๊มนมออกให้เกลี้ยงเต้าทุก 3 ชั่วโมง
- ใช้ผ้าอุ่นจัดประคบเต้านม 3-5 นาที ก่อนให้นม นวดเต้านม และคลึงหัวนมเบา ๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นเต้านม
2. จับลูกน้อยให้ดูดนมอย่างถูกวิธี นั่นคือการให้ลูกอมหัวนม และลานนมได้ลึกพอ
3. เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อยอายุ 6 เดือน จะเป็นการดีที่สุด
ในช่วงเวลาที่ให้นมลูกหรือปั๊มนม ให้คุณแม่อยู่ในอารมณ์ที่ผ่อนคลายที่สุด อาจจะฟังเพลงที่ชอบไปด้วย หรือนึกถึงสถานที่ท่องเที่ยวที่อยากไปก็ได้ ทานอาหารที่ให้คุณค่าทางโภชนาการ เพื่อบำรุงร่างกายตลอดจนสามารถช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนมแม่ได้ดี
ในช่วงที่น้ำนมยังน้อย ไม่พอสำหรับลูก หากจะเสริมนมผสม ไม่ควรให้ดูดจากขวด อาจใช้วิธีหยดนมข้าง ๆ เต้าแม่ขณะลูกดูดนม หยดครั้งละน้อย ๆ พอให้ลูกไม่หงุดหงิด เมื่อน้ำนมสร้างได้มากขึ้น จึงงดการทำด้วยวิธีนี้
หากลูกน้อยดูดนมแล้วหลับก่อนจะอิ่ม คุณแม่ควรกระตุ้นให้ลูกดูดนมต่อ โดยการขยับเต้านม และบีบน้ำนมเข้าปากลูกเป็นระยะ จนกว่าลูกจะอิ่ม และคายปากออกเอง ควรให้ลูกน้อยดูดบ่อยขึ้น และให้ดูดนานขึ้นในแต่ละครั้ง โดยภายใน 2-3 วัน น้ำนมก็จะเพิ่มมากขึ้น หากคุณแม่ท่านไหนที่กำลังเจอปัญหานี้อยู่ ลองนำเคล็ดลับดี ๆ เหล่านี้ไปใช้ดูนะคะ
Reference
- “Effect of breast massage on lactation” (2012) – https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3505244/
- “The Effect of Exercise on Breast Milk Volume and Composition” (2018) – https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6165267/
- “Maternal Diet and Breast Milk Fatty Acid Composition” (2019) – https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6523865/
- “The Effect of Skin-to-Skin Contact on Breastfeeding Success and Lactation Physiology” (2019) – https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6320952/
- “Impact of psychosocial factors on breast milk production in the first 6 months postpartum” (2021) – https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC8324395/